วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

วันสารทเดือนสิบ



วันสารทเดือนสิบ



             ทำบุญสารทเดือนสิบเมืองคอน เป็นงานบุญเพื่อุทิศส่วนกุศล ให้บรรพบุรุษ ญาติพี่น้อง ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่ยังมีกรรมต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในอบายภูมิ

             ในวันสารทเดือนสิบ ยมพบาลจะปลดปล่อยให้ออกมาเยี่ยมลูกหลาน เพื่อมารับส่วนบุญกุศลที่บรรดาลูกหลาน ญาติพี่น้องทำบุญให้ มีเพียงปีละครั้ง คือในวัน แรม ๑๔ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ (ซึ่งจะประมาณ ปลายเดือนกันยายน หรือต้นเดือนตุลาคม) พอถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ต้องหลับไปชดใช้กรรมตามเดิม จนกว่าจะหมดเวรหมดกรรมต่อไป

            งานบุญสารทเดือนสิบ จะเริ่ม ตั้งแต่วัน แรม ๑๓ ค่ำ เดือนสิบ เรียกว่าวันจ่าย พ่อค้าแม่ค้าจะนำของมาขาย ที่ตลาดทุกแห่ง จะคลาคล่ำไปด้วยฝูงชนมาจับจ่ายซื้อของ เพื่อเอาไปจัด หมรับ ต้องใส่ พืชผักผลไม้และที่สำคัญต้องมีขนมเดือนสิบ มีขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซัม ขนมไข่ปลา ข้าวกระยาสารท และขนมอื่นๆ ทั่วไปที่มีขายในตลาด

            วันแรม ๑๔ ค่ำ เป็นวันยก หมรับไปถวายวัด มีการตกแต่งกันอย่างสวยงามตามฐานะของแต่ละคน หรือหมู่คณะ มีขบวนแห่กันครึกครื้น สวยงาม มีการประกวด หมรับ เพื่อชิงรางวัล ถือเป็นงานประจำปีอันยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกว่า "งานเดือนสิบ"


            วันแรม ๑๕ ค่ำ จะเป็นวันทำบุญอีกเป็นวันสุดท้าย เมื่อถวายเพลพระ และบังสกุลเสร็จแล้ว ก็จะเอาขนมเดือนสิบ ไปวางไว้ ตามต้นไม้ หรือกำแพงวัด แต่บางวัดได้จัดที่วางไว้ให้ โดยเฉพาะ เรียกว่าการ "ตั้งเปรต" คือให้พวกผีไม่มีญาติ ได้กิน หลังจากการตั้งเปรตและอุทิศส่วนกุศลแล้ว บุคคลทั่วไปเข้าไปแย่งชิงขนมเหล่านั้นได้ เรียกว่า "ชิงเปรต" เป็นอันเสร็จสิ้นการทำบุญสารทเดือนสิบ

ประเพณีวันสารทเดือนสิบ



ประเพณีวันสารทเดือนสิบ


            วันสารทเดือนสิบ เป็นการทำบุญกลางเดือนสิบเพื่อนำเครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภคไปถวายพระ เป็นการอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษของตน


วัตถุประสงค์

            เพื่ออุทิศส่วนบุญแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ภาษาบาลีว่า "เปตชน" ภาษาชาวบ้านว่า "เปรต" ซึ่งหมายถึง ผู้ที่รับความทุกข์ทรมานจากวิบากแห่งบาปกรรมที่ทำไว้ในเมืองมนุษย์ เมื่อตายไปจึงเป็นเปรตตกนรก อดอยากยากแค้น คนข้างหลังจึงต้องทำบุญอุทิศให้ปีละครั้งเป็นการเฉพาะ


ความเชื่อ

            พุทธศาสนิกชนเชื่อว่า บรรพบุรุษได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว หากทำความดีไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ จะได้ไปเปิดในสรวงสวรรค์ แต่หากทำความชั่วจะตกนรกกลายเป็นเปรต ต้องทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศกุศลไปให้ในแต่ละปีมายังชีพ ดังนั้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 คนบาปทั้งหลายที่เรียกว่าเปรตจึงถูกปล่อยตัวกลับมายังโลกมนุษย์ เพื่อมาขอส่วนบุญจากลูกหลาน แล้วจะกลับไปนรกในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 

ขั้นตอนการจัดหมรับ

           การจัดหมรับ (หรือ สำรับ) มักจะจัดขั้นตอนการจัดหมรับเฉพาะครอบครัว หรือจัดร่วมกันในหมู่ญาติ และจัดเป็นกลุ่ม ภาชนะที่ใช้จัดหมรับใช้กระบุงหรือเข่งสานด้วยตอกไม้ไผ่
การจัดหมรับ คือ การบรรจุและประดับด้วยสิ่งของ อาหารขนมเดือนสิบลงภายในภาชนะที่เตรียมไว้เป็นชั้นๆ ดังนี้
1. ชั้นล่างสุด จัดบรรจุสิ่งของประเภทอาหารแห้งลงไว้ก้นภาชนะ
2. ชั้นที่สอง บรรจุอาหารประเภท พืช ผัก ที่เก็บได้นาน ใส่ขึ้นมาจากชั้นล่างสุด
3. ชั้นที่สาม จัดบรรจุสิ่งของประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
4. ชั้นที่สี่ ใช้บรรจุและประดับประดาด้วยขนมอันเป็นสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบเป็นหัวใจของหมรับ ได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ขนมกง(ขนมไข่ปลา) ขนมบ้า ขนมดีซัม ขนมเหล่านี้มีความหมายในการทำบุญเดือนสิบซึ่งขาดเสียมิได้เพื่อให้บรรพบุรุษและผู้ล่วงลับไปแล้ว ได้นำไปใช้ประโยชน์

การยกหมรับ

          วันแรม 15 ค่ำ ชาวบ้านจะนำหมรับที่จัดเตรียมไว้ ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลที่วัดโดยเลือกวัดที่ใกล้บ้านหรือวัดที่บรรพบุรุษของตนนิยม และนำภัตตาหารไปถวายพระด้วย วันนี้เรียกว่า "วันยกหมรับ"



การฉลองหมรับและการบังสุกุล

          วันแรม 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันสารทเรียกว่า "วันฉลองหมรับ" มีการทำบุญเลี้ยงพระและบังสุกุล การทำบุญวันนี้เป็นการส่งบรรพบุรุษและญาติพี่น้องให้กลับไปเมืองนรก นับเป็นสำคัญยิ่งวันหนึ่งซึ่งเชื่อกันว่าหากไม่ได้ทำพิธีกรรมในวันนี้บรรพบุรุษและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วจะไม่ได้รับส่วนบุญส่วนกุศลทำให้เกิดทุกขเวทนาด้วยความอดยาก ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ก็กลายเป็นคนอกตัญญูไป

การตั้งเปรตและการชิงเปรต

         เสร็จจากการฉลองหมรับและถวายภัตตาหารแล้ว ก็นิยมนำขนมอีกส่วนหนึ่งไปวางไว้ที่ลานวัด โคนไม้ใหญ่ หรือกำแพงวัด เรียกว่า "ตั้งเปรต" เป็นการแผ่ส่วนกุศุลให้เป็นสาธารณทานแก่ผู้ที่ล่วงลับที่ไม่มีญาติหรือญาติไม่ได้มาร่วมทำบุญให้ เมื่อถึงเวลาที่กำหนด ชาวบ้านก็จะแย่งชิงขนมที่ตั้งเปรตไว้ เรียกว่า"ชิงเปรต" ถือว่าผู้ที่ได้กินขนมจะได้บุญ

ขนมเดือนสิบ 
เป็นขนมที่ลูกหลานของผู้ล่วงลับได้จัดหา หรือทำขึ้น  เพื่อใช้ในโอกาสทำบุญเดือนสิบตามความเชื่อที่ว่าถ้าเราทำบุญด้วยขนมเหล่านี้จะเป็นการส่งบุญทำให้บรรพบุรุษได้นำสิ่งของเหล่านี้ไปใช้ในภพนั้นๆ ทำให้ความเป็นอยู่ของท่านเหล่านั้นสะดวกสบายขึ้น   ซึ่งขนมที่จำเป็นมี  5  อย่าง คือ

1.ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนเสื้อผ้า  เครื่องนุ่งห่ม



2.ขนมพอง  เป็นสัญลักษณ์แทนแพ  สำหรับญาติผู้ล่วงลับใช้เดินทาง


3.ขนมกง    ( ขนมไข่ปลา )  เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ


4.ขนมเจาะรูหรือขนมเจาะหูหรือขนมเบซำ  เป็นสัญลักษณ์แทนเงินสำหรับใช้จ่าย


5. ขนมบ้า   เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า  สำหรับใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น